วันเสาร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เทคโน.ม.2

    การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์                         ๗๗
   หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยี
สารสนเทศ
                                                                            ๘๔
   หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓    การเขียนโปรแกรมพื้นฐานด้วยภาษาโลโก                           ๘๘
   หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔    อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น                                                              ๙๓
   หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕    การใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงาน                                             ๙๗











หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑  การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

Adobe Systems        กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ ๑

๑.    ให้นักเรียนศึกษาเกี่ยวกับอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อเครือข่ายที่ใช้ภายในบ้านของนักเรียนหรือเพื่อนบ้านของนักเรียน
ว่ามีอะไรบ้าง                                                                                                                     
๒.   ให้นักเรียนรวมกลุ่มกันไม่เกิน ๓ คน ระดมสมองอภิปรายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ของระบบเครือข่ายในชีวิต
ประจำวัน
ของนักเรียน
๓.    ให้นักเรียนร่วมกันอภิปรายสรุปสาระสำคัญของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปของผังความคิด
                                                                                                                                                                     (อยู่ในดุลยพินิจของครู)

 เรื่อง  ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
คำชี้แจง  การสื่อสารข้อมูลมีความหมายอย่างไร และมีองค์ประกอบพื้นฐานอะไรบ้าง จงอธิบาย
                                การสื่อสารข้อมูล คือ กระบวนการถ่ายโอนข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ส่งกับผู้รับโดยผ่าน
ช่องทางสื่อสาร มีองค์ประกอบพื้นฐาน ๕ ประการ คือ
                        ๑.                                                                                                                     ผู้ส่งข้อมูล  ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังจุดหมายที่ต้องการ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ต้นทางของการสื่อสารข้อมูล
                        ๒.                                                                                                                    ผู้รับข้อมูล  ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมาให้ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูล
                        ๓.                                                                                                                    สื่อกลาง  ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูลจากผู้ส่งข้อมูลไปยังผู้รับข้อมูล
                        ๔.                                                                                                                     ข้อมูล  คือ  ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล ข้อมูลอาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง
ภาพเคลื่อนไหว และอื่นๆ
                        ๕.                                                                                                                    โปรโตคอล  คือ  กฎหรือวิธีการที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล ซึ่งผู้ส่งจะต้องส่งข้อมูลในรูปแบบ
ตามวิธีการสื่อสารที่ตกลงไว้กับผู้รับข้อมูล






 เรื่อง  ยุคของการสื่อสาร
คำชี้แจง  การสื่อสารแบ่งออกเป็นกี่ยุค และแต่ละยุคมีการสื่อสารอย่างไร
                การสื่อสารแบ่งออกได้เป็น ๓ ยุค ดังนี้
                ๑.    การสื่อสารในยุคเกษตรกรรม  เกิดการรวมกลุ่มกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีหัวหน้าหรือกษัตริย์
ผู้ปกครอง มีพัฒนาการทางด้านความรู้ ความคิด การเมืองการปกครอง จึงมีการคิดค้นภาษา หรือสัญลักษณ์เพื่อใช้
ในการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อมีการค้นพบกรรมวิธีทางการพิมพ์ยิ่งเป็นการช่วยสนับสนุนให้เกิดการ
บันทึกและเผยแพร่ความรู้ข่าวสารต่างๆ มากขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งมีความพยายามที่จะติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยน
ข่าวสาร ศิลปวัฒนธรรมระหว่างชุมชนมากขึ้น
                ๒.   การสื่อสารในยุคอุตสาหกรรม  เนื่องจากประชากรโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้น มีการติดต่อค้าขายระหว่าง
กลุ่มชนประกอบกับมีการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ เช่น การไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรทุ่นแรง ทำให้ต้องหา
วิธีในการผลิตสินค้าให้เพียงพอต่อความต้องการ เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมอย่างขนานใหญ่ โดยเริ่มจากประเทศในยุโรป
และขยายไปทั่วโลกในเวลาต่อมา จากสังคมเกษตรกลายเป็นสังคมอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อนขึ้น มีพัฒนาการ
ของเครื่องมือการสื่อสาร ไฟฟ้า โทรเลข วิทยุ โทรทัศน์ และความก้าวหน้าทางการพิมพ์ รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลง
ทางการเมือง ทำให้การสื่อสารทั้งระหว่างบุคคลและการสื่อสารแบบมวลชนขยายตัวอย่างกว้างขวาง            
                ๓.   การสื่อสารในยุคปัจจุบัน  ปัจจุบันถือได้ว่าเป็นยุคของการสื่อสารอย่างแท้จริง เพราะการเปลี่ยนแปลง
ทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ตลอดจนความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทุกๆ ด้าน ทำให้การสื่อสารกลายเป็นปัจจัย
ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งทั้งในระดับชุมชน ระดับประเทศ หรือระดับโลก มีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจ
การแก่งแย่งทางการค้า สังคมปัจจุบันผู้ที่ทราบหรือครอบครองข่าวสารข้อมูลมากกว่า ย่อมเป็นผู้ได้เปรียบ ข่าวสาร
ข้อมูลต่างๆ ย่อมได้มาโดยวิธีการของการสื่อสาร ซึ่งนับว่าเป็นปัจจุบันมีความก้าวหน้าอย่างยิ่งทั้งในด้านเทคนิค
วิธีการ และเครื่องมือสื่อสารอันทันสมัย เช่น การใช้คอมพิวเตอร์ประสิทธิภาพสูง และใช้งานได้อย่างหลากหลาย
การสื่อสารทางไกล ไม่ว่าจะเป็นวิทยุ โทรทัศน์ ไม่เพียงเฉพาะการสื่อสารระหว่างอำเภอ จังหวัด หรือระหว่างประเทศข้ามทวีปเท่านั้น ปัจจุบันเราสามารถสื่อสารได้ถึงระดับดวงดาวทั้งภาพและเสียง

 เรื่อง  รูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูล
คำชี้แจง  ให้นักเรียนอธิบายรูปแบบของการส่งสัญญาณข้อมูลแต่ละแบบ
                การส่งสัญญาณข้อมูลมี ๓ รูปแบบ คือ
                ๑.    การสื่อสารแบบทิศทางเดียว (Simplex) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งทำหน้าที่ส่งข้อมูลเพียงอย่างเดียว
และผู้รับก็ทำหน้าที่รับข้อมูลเพียงอย่างเดียวด้วยเช่นกัน เช่น การส่งสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ไปยังเครื่องรับ
โทรทัศน์
                ๒.   การสื่อสารแบบกึ่งสองทิศทาง (Half-Duplex) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของ
ผู้รับและผู้ส่ง โดยแต่ละฝ่ายสามารถเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูล แต่ต้องสลับกันทำหน้าที่เป็นผู้ส่ง จะเป็นผู้ส่งข้อมูล
พร้อมกันทั้งสองฝ่ายไม่ได้ เช่น การสื่อสารโดยใช้วิทยุสื่อสาร
                ๓.   การสื่อสารแบบสองทิศทาง (Full-Duplex) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ส่ง
และผู้รับ โดยทั้งสองฝ่ายสามารถเป็นผู้ส่งและผู้รับข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน และสามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกัน เช่น
การสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์

 เรื่อง  สื่อกลางการสื่อสาร
คำชี้แจง  ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑.    สื่อกลางในการสื่อสารมีกี่ลักษณะ อะไรบ้าง
        สื่อกลางในการสื่อสารข้อมูลมี ๒ ลักษณะ คือ
        ๑.     สื่อกลางประเภทสายสัญญาณ (Wired Media)
        ๒.    สื่อกลางประเภทไร้สาย (Wireless Media)
๒.   ให้นักเรียนบอกชื่อ พร้อมทั้งข้อดีและข้อเสียของสื่อกลางต่อไปนี้
                                                รูปที่ ๑    สายโคแอกเชียล  มีข้อดีและข้อเสียคือ
                                                ข้อดี        ³ ราคาถูก
                                                                ³ มีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
                                                                ³ ติดตั้งง่าย และมีน้ำหนักเบา
                                                ข้อเสีย     ³ ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้
                                                                ³ ระยะทางจำกัด
                                                รูปที่ ๒   สัญญาณไมโครเวฟ  มีข้อดีและข้อเสียคือ
                                                ข้อดี        ³ ใช้ในพื้นที่ซึ่งการเดินสายทำได้ไม่สะดวก
                                                                ³ ราคาถูกกว่าสายใยแก้วนำแสงและดาวเทียม
                                                                ³ ติดตั้งง่ายกว่าสายใยแก้วนำแสงและดาวเทียม
                                                                ³ อัตราการส่งข้อมูลสูง
                                                ข้อเสีย     ³ สัญญาณจะถูกรบกวนได้ง่ายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากธรรมชาติ เช่น
พายุ หรือฟ้าผ่า
                                                รูปที่ ๓   สายใยแก้วนำแสง  มีข้อดีและข้อเสียคือ
                                                ข้อดี        ³ ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
                                                                ³ ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
                                                                ³ ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
                                                ข้อเสีย     ³ มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่บิดเกลียวและสายโคแอกเชียล
                                                                ³ การบิดงอสายสัญญาณทำให้เส้นใยหัก
                                                                ³ ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง
                                                                ³ มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่าสายคู่บิดเกลียวและสายโคแอกเชียล

 เรื่อง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์
คำชี้แจง  เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด จงอธิบาย
                การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่ายนั้น ถูกแบ่งออกตามขนาดของเครือข่ายได้ ๓ ชนิด คือ
                ๑.    เครือข่ายระดับท้องถิ่นหรือเครือข่ายแลน (Local Area Network : LAN) หรือเครือข่ายระยะใกล้
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณไม่ไกลเข้าด้วยกัน เช่น
ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เครือข่ายแลนเป็นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ
การสื่อสารข้อมูลมาช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานในสำนักงานด้านต่างๆ ได้แก่
                        Â การติดต่อสื่อสารภายในสำนักงาน เช่น การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างพนักงาน
การนัดหมาย เป็นต้น
                        Â การใช้ทรัพยากรต่างๆ ร่วมกัน เช่น การใช้แฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลกลางระหว่างหน่วยงาน
การใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน เป็นต้น
                        Â การทำงานร่วมกัน เช่น การทำงานกลุ่ม เพื่อส่งเอกสารระหว่างสมาชิกในกลุ่ม การประชุมทางไกล
เป็นต้น
                ๒.   เครือข่ายระดับเมือง (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นการเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่าง
อาคารซึ่งอาจจะอยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือนอกพื้นที่ที่อาจจะอยู่กันคนละมุมเมืองก็ได้ แต่พื้นที่การเชื่อมต่อนั้น
จะกำหนดให้อยู่ภายในเมืองหนึ่ง อาจจะเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่ระดับเมืองหลวง หรือมหานครก็ได้ หรืออาจเกิดจาก
การเชื่อมต่อของ 
LAN หลายๆ เครือข่าย
                ๓.   เครือข่ายระยะไกลหรือเครือข่ายแวน (Wide Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่
เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล เช่น เชื่อมโยงระหว่างจังหวัด ระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่าย
ระยะไกลจึงต้องใช้ระบบบริการเครือข่ายสาธารณะ เช่น ใช้สายวงจรเช่าจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย
เครือข่ายแวนจึงเป็นเครือข่ายที่ใช้กับองค์การที่มีสาขาห่างไกลและต้องการเชื่อมสาขาเหล่านั้นเข้าด้วยกัน ซึ่งภายใน
เครือข่ายอาจประกอบด้วย 
LAN และ MAN เช่น ธนาคาร มีสาขาทั่วประเทศมีบริการรับฝากถอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็ม




 เรื่อง  อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
คำชี้แจง  ให้นักเรียนยกตัวอย่างอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาคนละ ๓ ชนิด พร้อมอธิบาย
การทำงาน
                        ๑.                                                                                                                     การ์ดแลนหรือนิก (Network Interface Card : NIC) เป็นแผงวงจรสำหรับใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณ
ของเครือข่าย มีหน้าที่แปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้
                        ๒.                                                                                                                    ฮับ (Hub) เป็นอุปกรณ์รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายๆ สถานีเข้าด้วยกัน เป็นอุปกรณ์ที่
ทวนและขยายสัญญาณเพื่อส่งต่อไปยังอุปกรณ์อื่น การติดตั้งจึงทำได้ง่าย ข้อเสียคือ ความเร็วในการส่งข้อมูลจะ
ลดลงเมื่อมีคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อมากขึ้น
                        ๓.                                                                                                                    สวิตช์ฮับ (Switch Hub) เป็นอุปกรณ์ที่รวมสัญญาณที่มาจากอุปกรณ์รับส่งหลายสถานีเช่นเดียวกับ
ฮับ แต่สวิตช์จะรับส่งข้อมูลจากสถานีตัวหนึ่งจะไม่กระจายไปยังทุกสถานีเหมือนฮับ แต่จะรับกลุ่มข้อมูล
มาตรวจสอบก่อน แล้วดูว่ามีแอดเดรสของสถานีปลายทางไปที่ใด สวิตช์จะนำกลุ่มข้อมูลนั้นส่งต่อไปยังสถานี
เป้าหมายให้อย่างอัตโนมัติ
                        ๔.                                                                                                                    เราเตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานคล้ายสวิตช์ แต่จะสามารถเชื่อมต่อระบบที่ใช้สื่อหรือสัญญาณ
ต่างชนิดกันได้ และหาเส้นทางที่เหมาะสมถูกต้องในการรับส่งเพราะแต่ละสถานีภายในเครือข่ายมีแอดเดรสกำกับ
เราเตอร์ต้องรับรู้ตำแหน่งและสามารถนำข้อมูลออกทางเส้นทางได้ถูกต้องตามตำแหน่งแอดเดรสที่กำกับอยู่ใน
เส้นทางนั้น
                        ๕.                                                                                                                    โมเด็ม (Modulator Demodulator : Modem) เป็นอุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิทัลจาก
คอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่งเพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับโมเด็มจะ
ทำหน้าที่แปลงสัญญาณแอนะล็อกให้เป็นดิจิทัลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติแล้วจะใช้
โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล
                        ๖.                                                                                                                     บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมเครือข่ายย่อยสองเครือข่ายเข้าด้วยกันที่มีมาตรฐาน
ต่างกัน โดยบริดจ์จะรับข้อมูลจากเครือข่ายต้นทาง แล้วทำการตรวจสอบตำแหน่งของเครือข่ายปลายทาง จากนั้น
จะทำการส่งข้อมูลไปยังเครือข่ายปลายทาง
                        ๗.                                                                                                                    เกตเวย์ (Gateway) เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุดในการเชื่อมต่อเครือข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน
โดยไม่มีขีดจำกัดทั้งระหว่างเครือข่ายต่างระบบหรือแม้กระทั่งโปรโตคอล จัดเป็นอุปกรณ์ที่ราคาแพงและติดตั้ง
ใช้งานยุ่งยาก




 เรื่อง  โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
คำชี้แจง  โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีกี่รูปแบบ จงอธิบาย
                โครงสร้างของเครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถจำแนกตามลักษณะของการเชื่อมต่อได้ ๔ รูปแบบ คือ
                ๑.    โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบดาว (Star Topology) เป็นโครงสร้างที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
แต่ละตัวเข้ากับศูนย์กลาง การรับส่งข้อมูลทั้งหมดจะต้องผ่านคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเสมอ
                ๒.   โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบบัส (Bus Topology) เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะถูก
เชื่อมต่อกันโดยผ่านสายสัญญาณแกนหลักที่เรียกว่า 
Bus หรือ แบ็คโบน (Backbone) คือ สายรับส่งสัญญาณข้อมูล
หลัก ใช้เป็นทางเดินข้อมูลของทุกเครื่องภายในระบบเครือข่าย และจะมีสายแยกย่อยออกไปในแต่ละจุดเพื่อเชื่อมต่อ
เข้ากับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ
                ๓.   โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบวงแหวน (Ring Topology) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์
ทั้งหมดเข้าเป็นวงแหวน ข้อมูลจะถูกส่งต่อๆ กันไปในวงแหวน โดยจะเป็นการส่งผ่านจากเครื่องหนึ่งไปสู่เครื่องหนึ่ง
จนกว่าจะถึงเครื่องปลายหรือเครื่องผู้รับที่ถูกต้อง การส่งข้อมูลจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
                ๔.    โครงสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบผสม (Hybrid Topology) เป็นการเชื่อมต่อที่ผสมผสาน
เครือข่ายย่อยๆ หลายส่วนมารวมเข้าด้วยกัน เช่น นำเอาเครือข่ายระบบ 
Bus ระบบ Ring และระบบ Star มาเชื่อมต่อ
เข้าด้วยกัน เหมาะสำหรับบางหน่วยงานที่มีเครือข่ายเก่าและใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกันได้ การเชื่อมต่อแบบนี้เป็น
การลดจุดอ่อนและเพิ่มจุดเด่นให้กับระบบซึ่งถือเป็นระบบดีที่สุด

 เรื่อง  ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
คำชี้แจง  ให้นักเรียนบอกถึงประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ พร้อมยกตัวอย่าง
                ๑.    การใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน คือเราสามารถเรียกใช้ข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ โดยไม่ต้อง
บันทึกลงแผ่นบันทึกข้อมูล เช่น การเรียกใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูล
                ๒.   การแบ่งปันทรัพยากรในเครือข่าย นอกจากที่เราจะใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้แล้ว เพื่อเกิดประโยชน์
สูงสุดและเป็นการประหยัดทรัพยากรเราสามารถใช้อุปกรณ์ร่วมกันได้ เช่น การใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน
                ๓.   การติดต่อสื่อสารระหว่างกันบนเครือข่าย เมื่อมีการเชื่อมโยงสถานีงานหรือเครื่องคอมพิวเตอร์
เข้าด้วยกัน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนที่อยู่บนเครือข่ายจะสามารถใช้คอมพิวเตอร์ติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ เช่น
การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ การสนทนาผ่านเครือข่าย
                ๔.    สำนักงานอัตโนมัติ เป็นแนวคิดของสำนักงานสมัยใหม่ คือการลดปริมาณการใช้กระดาษ โดยการหัน
มาใช้ระบบการทำงานด้วยคอมพิวเตอร์ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทันทีทันใด


คำชี้แจง  ให้นักเรียนเขียน m ล้อมรอบคำตอบที่ถูกต้อง
   ๑.   ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล   ค.  ระยะเวลา
   ๒.  ข้อใดให้ความหมายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ถูกต้อง
          ก.  การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ ๒ เครื่องขึ้นไปมาเชื่อมต่อเพื่อใช้ในการสื่อสารข้อมูล
   ๓.   โปรโตคอล (Protocol) คือข้อใด  
          ง.  กฎหรือระเบียบวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล ให้ผู้รับและผู้ส่งเข้าใจตรงกันในสิ่งที่ส่ง
   ๔.   ข้อใดจัดเป็นการส่งข้อมูลสองทิศทางพร้อมกัน  
          ง.  การคุยกันผ่านทางโทรศัพท์มือถือ
   ๕.   ข้อใดจัดเป็นสื่อนำข้อมูลแบบมีสายที่ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีที่สุด   ค.  สายใยแก้วนำแสง
   ๖.   ข้อใดคือเทคโนโลยีหลักของการสื่อสารด้วยแสง   ง.  เส้นใยแก้วนำแสง
   ๗.   รูปแบบการเชื่อมต่อแบบใดที่มี Host Computer เป็นเครื่องศูนย์กลาง   ก.  Star
   ๘.   ข้อเสียของการเชื่อมต่อแบบบัสคือข้อใด
          ข.  หากสายส่งข้อมูลเสียหายจะทำให้ทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้
   ๙.   ข้อใดมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณดิจิทัลเป็นแอนะล็อก   ข.  โมเด็ม (Modem)
๑๐.   ข้อใดคือการทำงานของเราเตอร์ (Router) ต่อเชื่อมเครือข่าย
          ง.  สามารถเชื่อมต่อระบบที่ใช้สื่อหรือสัญญาณต่างชนิดกันได้
๑๑.   การส่งข้อมูลทิศทางเดียวมีลักษณะอย่างไร  
          ก.  ส่งและรับข้อมูลโดยไม่ได้โต้ตอบกัน
๑๒.  สื่อนำข้อมูลแบบมีสายที่มีส่วนประกอบเป็นทองแดง เป็นคุณสมบัติของตัวกลางประเภทใด  
          ก.  สายคู่บิดเกลียว
๑๓.   การสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกได้กี่ยุค   ข.  ๓
๑๔.   ข้อใดคือลักษณะของการสื่อสารในยุคเกษตรกรรม
          ค.  มีการติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข่าวสาร ศิลปวัฒนธรรมระหว่างชุมชน
๑๕.   อุปกรณ์ใดหาเส้นทางการส่งข้อมูลที่เหมาะสมโดยอัตโนมัติ   ก.  Switch Hub  




หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒  หลักการและวิธีการแก้ปัญหาด้วยกระบวนการเทคโนโลยีสารสนเทศ

Adobe Systems        กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ ๒

                                                                                                                                                ชาวนาคนหนึ่งต้องนำสัตว์และผักข้ามแม่น้ำไปยังฝั่งตรงข้ามด้วยเรือพายเพียงลำเดียว สิ่งที่ชาวนาต้องนำ
ข้ามแม่น้ำคือ ผัก ๑ แข่ง  แกะ ๑ ตัว  และสุนัข ๑ ตัว  เรือสามารถบรรทุกได้ครั้งละหนึ่งอย่าง โดยมีเงื่อนไขว่า
ถ้าแกะอยู่กับผัก แกะจะกินผัก และถ้าสุนัขอยู่กับแกะ สุนัขจะกัดแกะตาย
๑.    ให้นักเรียนรวมกลุ่มกันกลุ่มละ ๓ คน ระดมสมองคิดวิเคราะห์ หาวิธีการนำของทั้ง ๓ สิ่งข้ามแม่น้ำให้ปลอดภัย
๒.   นำผลการคิดวิเคราะห์ของกลุ่มนำเสนอหน้าชั้นเรียน ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้
        ๒.๑     ปัจจัยหรือเงื่อนไขที่กำหนด
        ๒.๒    สิ่งที่โจทย์ปัญหาต้องการ
        ๒.๓    ขั้นตอนในการแก้ปัญหา
        ๒.๔    ผลที่ได้จากการคิดหรือการแก้ปัญหา                                                                   (อยู่ในดุลยพินิจของครู)

 เรื่อง  ขั้นตอนการแก้ปัญหา
คำชี้แจง  ขั้นตอนการแก้ปัญหามีกี่ขั้นตอน แต่ละขั้นตอนมีหลักการอย่างไร
                ขั้นตอนการแก้ปัญหามี ๔ ขั้นตอน ดังนี้
                ๑.    การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหา เป็นขั้นตอนแรกก่อนที่จะลงมือแก้ปัญหา ซึ่งมี
องค์ประกอบในการวิเคราะห์ คือ การกำหนดข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และวิธีประมวลผล
                ๒.   การวางแผนในการแก้ปัญหา เป็นขั้นตอนของการวางแผนในการแก้ปัญหาอย่างละเอียด พิจารณา
ข้อมูลและเงื่อนไขที่มีอยู่
                ๓.   การดำเนินการแก้ปัญหา เป็นขั้นตอนที่ต้องลงมือแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่ได้เลือกไว้
                ๔.    การตรวจสอบและปรับปรุง เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จำเป็นต้องมีการตรวจสอบให้แน่ใจว่าวิธีการ
แก้ปัญหาให้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง

 เรื่อง  จำลองความคิดเป็นข้อความ
คำชี้แจง  ให้นักเรียนจำลองความคิดเป็นข้อความเพื่อแก้ปัญหาตามที่โจทย์กำหนด
๑.    จงจำลองความคิดแสดงการซักผ้าจนกระทั่งตากโดยใช้ข้อความ
        เริ่มต้น
        ๑.     แยกผ้าที่จะซัก                       ๒.    ละลายผงซักฟอก                           ๓.    ขยี้ผ้า              
        ๔.    ซักน้ำเปล่า                              ๕.    บิดผ้า                                              ๖.     ตากผ้า
        จบ
๒.   การหาค่ามากที่สุดของจำนวนเต็ม x, y, z (โดยค่าแต่ละค่าสามารถซ้ำกันได้)
        เริ่มต้น
        ๑.     รับค่า x, y, z
        ๒.    กำหนดให้ เป็นค่ามากที่สุด
        ๓.    กำหนดให้ เก็บค่า x
        ๔.    เปรียบเทียบ กับ ถ้า มากกว่า ให้ เก็บค่า และทำขั้นตอนต่อไป ถ้า น้อยกว่าหรือเท่ากับ 
ทำขั้นตอนต่อไป
        ๕.    เปรียบเทียบ กับ ถ้า มากกว่า ให้ N เก็บค่า และทำขั้นตอนต่อไป ถ้า น้อยกว่าหรือเท่ากับ 
ทำขั้นตอนต่อไป
        ๖.     แสดงค่า N
        จบ

 เรื่อง  วิเคราะห์ปัญหา
คำชี้แจง  ให้นักเรียนแสดงวิธีการวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดปัญหาที่โจทย์กำหนด
๑.    การหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
        (๑)   การระบุข้อมูลเข้า ได้แก่
                ค่าความกว้าง และค่าความยาวของสี่เหลี่ยม
        (๒)  การระบุข้อมูลออก ได้แก่
                พื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
        (๓)  การกำหนดวิธีการประมวลผล ได้แก่
                ๑.    รับค่าความกว้าง และค่าความยาวของสี่เหลี่ยม
                ๒.   นำค่าความกว้างและความยาวของสี่เหลี่ยมมาคูณกัน
๒.   การหาค่ามากที่สุดของจำนวนเต็ม x, y, z (โดยค่าแต่ละค่าสามารถซ้ำกันได้)
        (๑)   การระบุข้อมูลเข้า ได้แก่
                รับค่าของจำนวนเต็ม x, y, z
        (๒)  การระบุข้อมูลออก ได้แก่
                ค่าที่มากที่สุดในจำนวนเต็ม x, y, z
        (๓)  การกำหนดวิธีการประมวลผล ได้แก่
                ๑.    รับค่าจำนวนเต็ม x, y, z
                ๒.   นำค่าจำนวนเต็ม x, y, z มาเปรียบเทียบหาค่ามากที่สุด


 เรื่อง  จำลองความคิดโดยใช้สัญลักษณ์
คำชี้แจง  ให้นักเรียนจำลองความคิดโดยใช้สัญลักษณ์เพื่อแก้ปัญหาตามที่โจทย์กำหนด
๑.    การหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า ที่กำหนดความกว้างเท่ากับ ๑๐ และยาวเท่ากับ ๒๐













๒.   คำนวณหาเงินฝากในบัญชีของคมสัน โดยมีข้อมูลการเงินของคมสันคือมีเงินฝากธนาคารอยู่ ๕,๓๒๘.๗๕ บาท
ถูกหักเงินในบัญชีเป็นค่าโทรศัพท์ ๕๗๓.๕๐ บาท หักเป็นค่าไฟฟ้า ๒๓๕.๑๙ บาท ได้ดอกเบี้ยจากเงินฝาก
๔๗๐.๔๘ บาท















คำชี้แจง  ให้นักเรียนเขียน m ล้อมรอบคำตอบที่ถูกต้อง
   ๑.   ขั้นตอนแรกในการแก้ปัญหาคือข้อใด   ก.  วิเคราะห์ปัญหา
   ๒.  จงเรียงลำดับกระบวนการในการแก้ปัญหา
          ๑.   การเลือกเครื่องมือ                                               
          ๒.  การตรวจสอบ
          ๓.  การวิเคราะห์                                                         
          ๔.  การดำเนินการ
          ง.  ๓-๑-๔-๒
   ๓.   การจำลองความคิด หมายถึงข้อใด   ค. การลำดับเหตุการณ์
   ๔.   การวิเคราะห์และกำหนดรายละเอียดของปัญหามีองค์ประกอบในการวิเคราะห์อย่างไรบ้าง
          ข.  ข้อมูลนำเข้า ข้อมูลออก กำหนดวิธีการประมวลผล
   ๕.   เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธีในการแก้ปัญหาที่นิยมใช้ได้แก่ข้อใด  
          ก.  ผังงาน (Flowchart)
   ๖.   สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแสดงการเริ่มต้นและสิ้นสุดคือข้อใด   ข. 
   ๗.   การเขียนโปรแกรม หมายถึงข้อใด  
          ก.  กระบวนการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหา
   ๘.   ข้อใดไม่ใช่ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม   ข.  อ็อบเจกต์
   ๙.   โครงสร้างแบบลำดับมีลักษณะอย่างไร  
          ข.  มีรูปแบบการทำงานแต่ละขั้นตอนถูกประมวลผลครั้งเดียว
๑๐.                                                 จากรูป เป็นโครงสร้างควบคุมแบบใด   ง.  If…then…else



๑๑.   วิธีพื้นฐานใดที่มนุษย์ใช้ในการแก้ปัญหา   ค.  การลองผิดลองถูก
๑๒.  การตัดข้อมูลที่เป็นไปไม่ได้ออกจนเหลือข้อมูลที่เป็นไปได้เป็นการแก้ปัญหาด้วยวิธีใด  
          ข.  วิธีขจัด


๑๓.   จงเรียงลำดับเหตุการณ์ต่อไปนี้
          ๑.   แต่งตัว                       
          ๒.  ทานข้าว                    
          ๓.  อาบน้ำ                       
          ๔.  ไปโรงเรียน
          ค.  ๓-๒-๑-๔
๑๔.   การเขียนโปรแกรมตัดเกรดผลการเรียนนักเรียนใช้โครงสร้างแบบใด   ก.  โครงสร้างแบบ case
๑๕.                   หมายถึงข้อใด   ง.  แสดงการตัดสินใจที่มีเงื่อนไข

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓  การเขียนโปรแกรมพื้นฐานด้วยภาษาโลโก

Adobe Systems        กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ ๓

๑.    ให้นักเรียนรวมกลุ่มกันไม่เกิน ๕ คน ระดมสมองคิดวิเคราะห์ ออกแบบ วางแผน และสร้างชิ้นงานลงบนกระดาษ
กราฟ พร้อมทั้งระบายสีให้สวยงาม
๒.   ใช้โปรแกรมภาษาโลโกสร้างสรรค์งานตามจินตนาการของนักเรียนที่ออกแบบไว้
๓.    นำผลงานที่ได้ พร้อมทั้งอธิบายถึงแนวคิดในการสร้างชิ้นงาน มาจัดป้ายนิเทศในชั้นเรียน
                                                                                                                                                                     (อยู่ในดุลยพินิจของครู)

 เรื่อง  ความเป็นมาของภาษาโลโก
คำชี้แจง  ให้นักเรียนบอกความเป็นมาของภาษาโลโก
                ภาษาโลโกเริ่มขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๑๓ เมื่อกลุ่มนักวิจัยของสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ นำโดย เซย์มัว พาเพิร์ต ได้ทำการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ เพื่อให้เด็กๆ สามารถเขียนโปรแกรมคำสั่งที่ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย สั่งให้โปรแกรมทำงานตามที่ต้องการ และทำการพัฒนาภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นใหม่ เรียกว่า ภาษา โลโก” เป็นภาษาที่ง่ายสำหรับเด็ก ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ มีราคาถูก จึงได้มีการพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปให้สามารถจำลองหุ่นยนต์เต่าอิเล็กทรอนิกส์ เป็นภาพกราฟิกเต่า เคลื่อนที่ไปมาบนจอภาพคอมพิวเตอร์ ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของภาพกราฟิกเต่า มาเป็นภาพสัญลักษณ์สามเหลี่ยม
                 ไบรอัน ฮาร์เวย์ และคณะทำงานที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย-เบิร์กเลย์ ได้เริ่มพัฒนาโปรแกรม ซึ่งเรียกว่าโลโกเบิร์กเลย์” และได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ให้สามารถใช้งานภายใต้ระบบปฏิบัติการที่แตกต่างกัน จากระบบ
ยูนิกซ์ 
(UNIX) เป็นระบบดอส (DOS) จนถึงปัจจุบัน ยอร์จ มิลส์ ได้พัฒนาให้สามารถทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ
วินโดวส์ได้ เราเรียกโปรแกรมนี้ว่า 
เอ็มเอสดับเบิลยูโลโก (MSWLogo)”

 เรื่อง  โครงสร้างของโปรแกรมภาษาโลโก
คำชี้แจง  จากภาพหน้าจอของภาษาโลโก ให้นักเรียนอธิบายแต่ละหมายเลขว่าคือส่วนใดของโปรแกรม และมีการ
ทำงานอย่างไร
                ส่วนที่ ๑  คือ  หน้าต่างแสดงผลกราฟิก (Screen window) เริ่มต้นจะมีรูปสามเหลี่ยมปรากฏกลาง
ส่วนแสดงผลกราฟิก คือ เต่าโลโก หรือเรียกสั้นๆ ว่าเต่า ตำแหน่งเริ่มต้นของเต่าจะอยู่ตรงส่วนกลางของ
ส่วนแสดงผลกราฟิก
                ส่วนที่ ๒  คือ  หน้าต่างแสดงคำสั่ง (Commander window) คำสั่งที่ให้เต่าโลโกทำงานเมื่อพิมพ์ลงไปแล้ว
จะปรากฏให้เห็นในหน้าต่างนี้ คำสั่งที่พิมพ์เข้าไปก่อนจะอยู่บรรทัดบน ส่วนคำสั่งที่พิมพ์ตามเข้าไปจะอยู่บรรทัด
ล่าง คำสั่งเหล่านี้สามารถเรียกกลับมาใช้งานได้อีก
                ส่วนที่ ๓  คือ  ช่องป้อนเข้าข้อมูล (Input box) เป็นส่วนหนึ่งของหน้าต่างแสดงคำสั่ง เมื่อคลิกที่ช่องนี้จะ
ปรากฏเครื่องหมายเคอร์เซอร์ 
(Cursor) ทำให้สามารถพิมพ์คำสั่งลงไปได้ครั้งละ ๑ บรรทัด เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วให้กด
แป้น 
Enter

 เรื่อง  คำสั่งพื้นฐานของภาษาโลโก
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเขียนคำสั่งที่สั่งให้เต่าเดินดังภาพและระยะทางที่กำหนดให้
๑.            สั่งให้เต่าเดินหน้า ๕๐ หน่วย ด้วยคำสั่ง
                Forward 50
๒.           สั่งให้เต่าวาดวงกลมรัศมี ๓๐ หน่วย ด้วยคำสั่ง
                Circle 30
๓.            สั่งให้เต่าหันไปทางขวาทำมุม ๔๕ องศา และเดินหน้า ๒๐ หน่วย ด้วยคำสั่ง
                Right 45     
                Forward 20
๔.                                สั่งให้เต่าพิมพ์คำว่า Hello I am … แสดงบนหน้าจอส่วนของกราฟิก ด้วยคำสั่ง
                Right 90
                Label [Hello I am]






 เรื่อง  เขียนกระบวนความอย่างง่าย
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเขียนกระบวนความแสดงการวาดรูปตามโจทย์ที่กำหนด
๑.    วาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีด้านกว้าง ๒๐ หน่วย และด้านยาว ๔๐ หน่วย
                To rectangle
                      Forward 20
                      Right 90
                      Forward 40
                      Right 90
                      Forward 20
                      Right 90
                      Forward 40
                End
๒.   วาดรูปเก้าเหลี่ยมที่มีด้านยาว ๔๐ หน่วย (Nonagon 40)
                To Nonagon
                      Forward 40   Right 40
                      Forward 40   Right 40
                      Forward 40   Right 40
                      Forward 40   Right 40
                      Forward 40   Right 40
                      Forward 40   Right 40
                      Forward 40   Right 40
                      Forward 40   Right 40
                      Forward 40   Right 40
                End







 เรื่อง  รวมคำสั่งเป็นกระบวนความภาษาโลโก
คำชี้แจง  จากกระบวนความที่กำหนดให้ จงเขียนให้สั้นลงด้วยคำสั่งในภาษาโลโก
กระบวนความ
เขียนด้วยชุดคำสั่งภาษาโลโก
๑.    To Square
             FD 50  RT 90
             FD 50  RT 90
             FD 50  RT 90
             FD 50  RT 90
        End                
          To Square
               Repeat 4 [FD 50  RT 90]
          End             
๒.   To Star
             RT 90  FD 20  LT 90  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 90  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 90  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 90  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 90  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 90  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 90  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 90  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 90  FD 20
        End                
          To Star
               Repeat 9 [RT 90  FD 20  LT 90  FD 20]
                End        
๓.    To Star
             RT 90  FD 20  LT 35  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 35  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 35  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 35  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 35  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 35  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 35  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 35  FD 20
             RT 90  FD 20  LT 35  FD 20
        End                
          To Star
               Repeat 8 [RT 90  FD 20  LT 35  FD 20]
                End        
คำชี้แจง  ให้นักเรียนเขียน m ล้อมรอบคำตอบที่ถูกต้อง
   ๑.   MSWLogo ย่อมาจากคำว่าอะไร   ก.  Microsoft Windows Logo




   ๒.  จากรูปด้านบน หมายเลข ๑ มีชื่อเรียกว่าอะไร   ง.  ช่องป้อนคำสั่ง
   ๓.   คำสั่ง Forward คือคำสั่ง   ง.  เดินหน้า
   ๔.   คำสั่ง Setxy 0 0 ใช้คำสั่งให้เต่าโลโกทำอะไร   ข.  กลับไปยังจุดเริ่มต้น
   ๕.   คำสั่งใดใช้สำหรับเปลี่ยนสีปากกา   ก.  SetPc 4
   ๖.   ข้อใดคือความหมายของกระบวนความ  
          ง.  คำสั่งต่างๆ ที่รวมกันเป็นชุดคำสั่งและสั่งให้เต่าทำงาน
   ๗.   รูปแบบกระบวนความที่ถูกต้องคือข้อใด  
          ข.  ขึ้นต้นด้วย To ชื่อกระบวนความ และลงท้ายด้วย End
   ๘.   คำสั่งในข้อใดใช้เรียกข้อมูลของกระบวนความที่บันทึกเก็บไว้ออกมาแก้ไข  
          ก.  File => Load
   ๙.   แฟ้มข้อมูลที่มีการบันทึกกระบวนความจะได้ File ที่มีนามสกุลอะไร   ข.  .LGO
๑๐.   คำสั่ง REPEAT หมายถึงคำสั่งอะไร  
          ค.  คำสั่งให้ทำงานซ้ำตามจำนวนครั้งที่กำหนด
๑๑.   ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของภาษาโลโก   ง.  ยากต่อการใช้งาน
๑๒.  ภาษาโลโกเริ่มใช้ในกลุ่มบุคคลใด   ค.  นักวิจัย
๑๓.   ข้อใดคือความหมายของคำว่าโลโก   ข.  หุ่นยนต์เต่า
๑๔.   ผู้พัฒนาโปรแกรมโลโกให้สามารถใช้กับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ได้  
          ง.  ยอร์จ มิลส์
๑๕.   ใช้คำสั่งใดวาดรูปวงกลมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐๐ หน่วย  
          ก.  Circle 50
  


หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔  อินเทอร์เน็ตเบื้องต้น

Adobe Systems        กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ ๔

๑.    ให้นักเรียนหาข่าวเกี่ยวกับผลกระทบในการใช้อินเทอร์เน็ตในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน แล้วนำมา
จัดป้ายนิเทศในชั้นเรียน
๒.   ให้นักเรียนสมัครสมาชิกของบริการไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) แลกเปลี่ยนที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
กับเพื่อน และส่งข้อความถึงกัน
๓.    ให้นักเรียนสมัครสมาชิกของฟรีบล็อก แล้วตกแต่งบล็อกให้สวยงาม และเขียนบันทึกในบล็อกของตน
                                                                                                                                                                     (อยู่ในดุลยพินิจของครู)

 เรื่อง  ความหมายของอินเทอร์เน็ต
คำชี้แจง  อินเทอร์เน็ตคืออะไร
                อินเทอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นจำนวนมากครอบคลุมไปทั่วโลก
โดยอาศัยโครงสร้างระบบสื่อสารโทรคมนาคมเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล มีการประยุกต์ใช้งานหลากหลาย
รูปแบบ อินเทอร์เน็ตประกอบด้วยเครือข่ายย่อยเป็นจำนวนมากต่อเชื่อมเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานเดียวกันจนเป็น
สังคมเครือข่ายขนาดใหญ่ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของ ทำให้การเข้าสู่
เครือข่ายเป็นไปได้อย่างเสรีภายใต้กฎเกณฑ์บางประการที่กำหนดขึ้นเพื่อ
ไม่ให้เกิดความสับสนและวุ่นวายจากการ
เชื่อมต่อจากเครือข่ายทั่วโลก

 เรื่อง  ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
คำชี้แจง  ให้นักเรียนบอกประวัติความเป็นมาของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและจุดเริ่มต้นของอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
                พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ. ๑๙๖๙) ได้มีการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรก โครงการอาร์พาเน็ต (ARPAnet)
ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานโครงการวิจัยขั้นสูง (Advanced Research
Projects Agency : ARPA) ในสังกัดกระทรวงกลาโหมของประเทศสหรัฐอเมริกา โดยใช้มินิคอมพิวเตอร์รุ่น ๓๑๖
ของฮันนีเวลล์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (
host) และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการต่างกันระหว่าง
สถาบัน ๔ แห่ง คือ
 มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ลอสแอนเจลิส มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ที่ซานตาบาร์บารา
มหาวิทยาลัยยูทาห์
  และสถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด
                ในปี ๒๕๑๕ ได้มีการปรับปรุงหน่วยงานจากอาร์พา มาเป็นดาร์พา
(
Defense Advanced Research Project Agency)
                ในปี ๒๕๒๖ อาร์พาเน็ตได้แบ่งเป็นออกเป็น ๒ เครือข่าย คือ เครือข่ายวิจัย (ARPAnet) และเครือข่าย
กองทัพ
 (MILNET: Military Network) ซึ่งมีการเชื่อมต่อโดยใช้โปรโตคอล TCP/IP (Transmission Control
Protocol / Internet Protocol) เป็นครั้งแรก
                ในปี ๒๕๒๘ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติอเมริกา (National Science Foundation : NSF) ได้ให้เงินทุน
ในการสร้างศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ๖ แห่ง และใช้ชื่อว่า เอ็นเอสเอฟเน็ต
 NSFnet
                ในปี ๒๕๓๓ อาร์พาเน็ตไม่สามารถที่จะรองรับภาระที่เป็นโครงข่ายหลัก (Backbone) ของระบบได้
อาร์พาเน็ตจึงได้ยุติลง และเปลี่ยนไปใช้
 NSFnet และเครือข่ายอื่น ๆ แทนจนเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ จนกระทั่งถึง
ปัจจุบันโดยเรียกเครือข่ายว่า อินเทอร์เน็ต
                พ.ศ. ๒๕๓๐ ประเทศไทยเริ่มมีอินเทอร์เน็ตใช้ โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (
AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เป็นการ
เชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์
                ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๓๕ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งเครือข่ายเพื่อเชื่อมโยงเข้ากับเครือข่ายยูยูเน็ต(UUNET) ของบริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี จำกัด (UUNET Technologies Co., Ltd.) ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐเวอร์จิเนีย
ประเทศสหรัฐอเมริกา
                ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อ
คอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย ๖ แห่ง ได้แก่
 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สถาบันเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าด้วยกันเรียกว่า 
เครือข่ายไทยสาร

 เรื่อง  การแทนชื่อและที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต
คำชี้แจง  ให้นักเรียนอธิบายถึงการกำหนดที่อยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วย IP Address และโดเมนเนม (DNS)
พร้อมยกตัวอย่างการกำหนดแต่ละแบบ
                ๑.     การกำหนดที่อยู่แบบไอพี (IP Address) เป็นการกำหนดที่อยู่โดยใช้เลขฐานสองที่มีความยาว ๓๒ บิต
แต่เพื่อความสะดวกในการอ้างอิง จึงใช้วิธีเขียนเป็นเลขฐานสิบจำนวน ๔ หมายเลขติดต่อกัน โดยมีเครื่องหมาย
จุด 
“.” เป็นตัวคั่น หรือเรียกว่า “Dotted-quads” เรียกการกำหนดที่อยู่ลักษณะนี้ว่า ไอพี (IP Address) เช่น
๒๐๒.๒๙.๑๓.๒๘ เป็นต้น ตัวเลขแต่ละตัวมาจากเลขฐานสองจำนวน ๘ บิต ดังนั้นเลขแต่ละตัวจึงมีค่าอยู่ระหว่าง ๐
ถึง ๒๒๕ หมายเลขไอพีจะแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนแรกเป็นตัวเลข ๒ ตัวแรก ๒๐๒.๒๙ บอกถึงหมายเลข
เครือข่าย และส่วนที่สองตัวเลข ๒ ตัวหลัง ๑๓.๒๘ บอกถึงหมายเลขเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่ายนั้นๆ
                ๒.    การกำหนดที่อยู่แบบดีเอ็นเอส (DNS) เป็นการกำหนดรูปแบบที่อยู่เป็นตัวหนังสือเพื่อให้สะดวกแก่
การจดจำ เรียกว่า ชื่อโดเมน 
(Domain name) เช่น หมายเลขไอพี ๒๐๒.๒๙.๑๓.๒๘ เมื่อเขียนในรูปแบบชื่อโดเมน
คือ 
“thaicyberu.go.th” ซึ่งง่ายแก่การจดจำมาก



 เรื่อง  บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
คำชี้แจง  ให้นักเรียนอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้
๑.    ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) หมายถึง
        ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) คือวิธีการติดต่อสื่อสารด้วยตัวหนังสือแบบใหม่แทนจดหมายบนกระดาษ
แต่ใช้วิธีการส่งจดหมายในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถแนบแฟ้มที่เป็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง และ
ภาพเคลื่อนไหว
 
๒.   การสนทนาบนเครือข่าย (Chat) หมายถึง
        เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ได้ในเวลาเดียวกัน (Real-time)
การสนทนาหรือ Chat (Internet Relay Chat : IRC) ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการสนทนาระหว่างบุคคล
หรือกลุ่มบุคคลสามารถใช้ภาพกราฟิก ภาพการ์ตูนหรือภาพเคลื่อนไหวต่างๆ แทนตัวผู้สนทนาได้ นอกจากการ
สนทนาแล้ว ผู้ใช้ยังสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและไฟล์ได้อีกด้วย
๓.    เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) หมายถึง
        เป็นการบริการข้อมูลข่าวสารในแบบสื่อผสมหรือมัลติมีเดีย คือ ข้อมูลเหล่านี้จะอยู่ในรูปของข้อความ รูปภาพ
และเสียงประกอบกัน ทำให้สามารถเรียกร้องความสนใจจากผู้ใช้ได้เป็นอย่างดี และยังสามารถแสดงภาพเคลื่อนไหว
ได้ด้วย ข้อมูลจะถูกแบ่งเป็นหน้าๆ แต่ละหน้าจะถูกเขียนขึ้นด้วยภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เรียกว่า
ภาษา 
HTML (Hyper Text Markup Language) ซึ่งสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ที่เดียวกัน
ดังนั้นข้อมูลทุกมุมโลกจึงโยงใยถึงกันได้ราวกับใยแมงมุม จึงเรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม

 เรื่อง  คุณธรรมและมารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
คำชี้แจง  ให้นักเรียนบอกถึงจรรยาบรรณ และมารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต
                มารยาทการในการใช้อินเทอร์เน็ต
๑.    มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น
๔ ด้าน คือ
                        ๑.๑    ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย                      
                        ๑.๒   ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย  
                        ๑.๓  ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้                      
                        ๑.๔    ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ
                ๒.   มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต
ประกอบด้วย
                        ๒.๑   ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่
                        ๒.๒  ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต
                        ๒.๓  ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์
                        ๒.๔  ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต
                        ๒.๕  ควรระบุแหล่งที่มาของข้อมูลเผยแพร่
                        ๒.๖   ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น
                        ๒.๗  ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และ
ที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย
                        ๒.๘  ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย

จรรยาบรรณในการใช้อินเทอร์เน็ต
                  .   ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น
                  .  ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
                  .  ต้องไม่สอดแนม หรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
                  .  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
                  .  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
                  .   ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
                  ๗.  ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
                  ๘.  ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
                  ๙.   ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
                ๑๐.   ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา มารยาท

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเขียน m ล้อมรอบคำตอบที่ถูกต้อง
   ๑.   อินเทอร์เน็ตมีความหมายตรงกับข้อใด
          ง.  เครือข่ายงานคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันทั่วโลก และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้แบบสาธารณะ
   ๒.  โครงการที่เป็นต้นกำเนิดของอินเทอร์เน็ตคือข้อใด  
          ข.  อาร์พาเน็ต (ARPAnet)
   ๓.   การพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตครั้งแรกในประเทศไทยเกิดขึ้นที่หน่วยงานใด 
          ค.  สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)

   ๔.   ระบบใดที่สามารถใช้ชื่อที่เป็นตัวอักษรแทนการใช้ตัวเลขให้การอ้างถึงที่อยู่ได้  
          ข.  DNS
   ๕.   หมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเรียกว่าอะไร  
          ง.  IP Address
   ๖.   บริษัทหรือองค์การที่เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตคือข้อใด  
          ก.  ISP
   ๗.   .gov เป็นชื่อโดเมนแทนประเภทองค์การใด  
          ง.  กลุ่มองค์การของรัฐ
   ๘.   การบริการข้อใดที่สามารถเรียกดูข้อมูลและโต้ตอบกับเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ได้  
          ก.  FTP
   ๙.   ชื่อโดเมนต่างๆ ที่ลงท้ายด้วย th หมายถึงอะไร  
          ง.  ชื่อย่อประเทศ
๑๐.   บริการใดใช้ส่งจดหมายถึงกันได้  
          ง.  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
๑๑.   โปรแกรมสำหรับใช้เปิดเว็บไซต์ คือข้อใด     
          ก.  Web Brower
๑๒.  e-mail Address จะประกอบด้วยส่วนสำคัญกี่ส่วน    ค.  ๓
๑๓.   การโอนย้ายจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์มายังคอมพิวเตอร์ส่วนตัว เรียกว่าอะไร  
          ข.  Down Load
๑๔.   เว็บไซต์ www.moe.go.th ส่วนของ moe หมายถึงข้อใด   ค.  ชื่อหน่วยงาน
๑๕.   เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเรียกอีกอย่างว่า   ก.  เครือข่ายใยแมงมุม
  
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕  การใช้ซอฟต์แวร์ในการทำงาน

Adobe Systems        กิจกรรมท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่ ๕

๑.    ให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าบทบาทของซอฟต์แวร์ประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันของนักเรียน และ
นำผลที่ได้มาอภิปรายหน้าชั้นเรียน
๒.   ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับคุณสมบัติของไวรัสคอมพิวเตอร์ชนิดต่างๆ มาจัดป้ายนิเทศในชั้นเรียน
๓.    ให้นักเรียนเขียนผังความคิดประเภทและหน้าที่ของซอฟต์แวร์                                   
                                                                                                                                                                     (อยู่ในดุลยพินิจของครู)

 เรื่อง  ความหมายของซอฟต์แวร์
คำชี้แจง  จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้
๑.    ซอฟต์แวร์ หมายถึง
                โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน
๒.   ภาษาคอมพิวเตอร์ หมายถึง
                ชุดคำสั่งที่ประกอบด้วยตัวเลขของเลขฐานสอง (binary digits หรือ bits) ที่ใช้เลข ๐ และ ๑ เป็นสัญลักษณ์แทน
สัญญาณไฟฟ้าปิดและเปิดตามลำดับ
๓.    ตัวแปลภาษา หมายถึง
                ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการแปลภาษา เพื่อแปลภาษาระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่อง
๔.    ไวรัสคอมพิวเตอร์ หมายถึง
                เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาจากโปรแกรมเมอร์ที่ไม่ประสงค์ดี เพื่อที่จะทำการแก้ไข ฝังตัว เขียนทับคำสั่งหรือ
ข้อมูลในเครื่องเป้าหมายผ่านทางช่องโหว่หรือบักของโปรแกรม ส่งผลให้ระบบปฏิบัติการทำงานผิดพลาด

 เรื่อง  ประเภทซอฟต์แวร์และหน้าที่ของซอฟต์แวร์
คำชี้แจง  ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑.    จงอธิบายหน้าที่หลักของซอฟต์แวร์ระบบ
                ๑.            ใช้ในการจัดการหน่วยรับเข้าและหน่วยส่งออกของเครื่องคอมพิวเตอร์
                ๒.           ใช้ในการจัดการหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์
                ๓.           ใช้เป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์
๒.   ไวรัสโทรจันทำงานอย่างไร
                การทำงานของม้าโทรจัน ทำตัวเหมือนเป็นโปรแกรมธรรมดาทั่วๆ ไปเพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมา
ทำงาน เมื่อถูกเรียกขึ้นมาโปรแกรมจะเริ่มเข้าไปทำอันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องหรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะ
ล้วงเอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์
๓.    ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการทำงานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้มีซอฟต์แวร์อะไรบ้าง
                ๑.            ซอฟต์แวร์ประมวลคำ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับการพิมพ์เอกสาร
                ๒.           ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการคิดคำนวณ
                ๓.           ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูล เป็นซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการเก็บ การเรียกค้นมาใช้งาน การทำรายงาน
การสรุปผลจากข้อมูลที่จัดเก็บในคอมพิวเตอร์
                ๔.            ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับนำเสนอข้อมูล การแสดงผลต้องสามารถดึงดูดความสนใจ
                ๕.           ซอฟต์แวร์ด้านงานพิมพ์ เป็นโปรแกรมที่ใช้จัดหน้าสิ่งพิมพ์ต่างๆ
                ๖.            ซอฟต์แวร์กราฟิก เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการตกแต่งงานกราฟิกต่างๆ
                ๗.           ซอฟต์แวร์ค้นหาข้อมูลเป็นโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
                ๘.           โปรแกรมด้านติดต่อสื่อสาร เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้สะดวก รวดเร็ว และ
ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

 เรื่อง  ความแตกต่างของซอฟต์แวร์แต่ละชนิด
คำชี้แจง  ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
๑.    ให้นักเรียนอธิบายความแตกต่างของซอฟต์แวร์ระบบกับซอฟต์แวร์ประยุกต์
        ซอฟต์แวร์ระบบ เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์  ให้คอมพิวเตอร์และ
อุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ ทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
        ส่วนซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นโปรแกรมที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่างาน
ด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานทุกๆ
 
ด้านตามแต่ผู้ใช้ต้องการ
๒.   โปรแกรมอรรถประโยชน์ต่างจากซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไปอย่างไร
        โปรแกรมอรรถประโยชน์ เป็นโปรแกรมที่เรียกใช้งานเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ดูแลรักษาความปลอดภัยและเสถียรภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมสำหรับสำรองข้อมูลที่สำคัญ
ในฮาร์ดดิสก์ (
backup) โปรแกรมตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในฮาร์ดดิสก์
        แต่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป หรือโปรแกรมสำเร็จรูป เป็นซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ที่ผู้ใช้สามารถซื้อไปประยุกต์
ใช้งานตามที่ต้องการได้ทันที 
เช่น ซอฟต์แวร์ด้านเอกสาร ซอฟต์แวร์ด้านการออกแบบ ซอฟต์แวร์นำเสนอ เป็นต้น

คำชี้แจง  ให้นักเรียนเขียน m ล้อมรอบคำตอบที่ถูกต้อง
   ๑.   ข้อใดไม่ใช่โปรแกรมประยุกต์   ก.  Microsoft Windows
   ๒.  ICQ จัดเป็นประเภทใด   ค.  ติดต่อสื่อสาร
   ๓.   กัลยาต้องการออกแบบบัตรเชิญ กัลยาควรใช้ซอฟต์แวร์ใดในการออกแบบ  
          ง.  ซอฟต์แวร์ช่วยออกแบบ
   ๔.   ภาษาเครื่องมีสัญลักษณ์คือ ๐ กับ ๑ บอกถึงอะไร  
          ง.  เปิด, ปิด
   ๕.   ถ้าต้องการนำเสนอข้อมูลจะเลือกใช้ซอฟต์แวร์ในข้อใด  
          ค.  Microsoft Power Point
   ๖.   ซอฟต์แวร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด  
          ก.  ๒ ชนิด ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์
   ๗.   ซอฟต์แวร์อรรถประโยชน์ได้แก่ชนิดใด  
          ก.  ซอฟต์แวร์กำจัดไวรัส
   ๘.   โปรแกรมใดต่อไปนี้ต้องใช้ตัวแปลภาษา  
          ข.  ปาสคาล
   ๙.   ซอฟต์แวร์จัดการฐานข้อมูลเป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ทำอะไร 
          ง.  จัดการข้อมูลจำนวนมากๆ
๑๐.   ข้อใดไม่จัดเป็นซอฟต์แวร์ใช้งาน  
          ข.  โปรแกรมแปลภาษา
๑๑.   ข้อใดคือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ควบคุมการใช้งานส่วนต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์  
          ก.  ระบบปฏิบัติการ
๑๒.  ถ้าต้องการโอนย้ายข้อมูลขึ้นระบบเครือข่ายต้องใช้โปรแกรมข้อใด  
          ค.  FTP
๑๓.   ถ้าต้องการบีบอัดข้อมูลต้องใช้โปรแกรมข้อใด   
          ข.  WinZip
๑๔.   ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการคำนวณ มีลักษณะเป็นตารางคือข้อใด  
          ง.  Microsoft Excel
๑๕.   ซอฟต์แวร์ใช้งานเฉพาะ หมายถึง

          ก.  โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละราย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น